เงินก็มีน้อย ยังจะมาดูดไปอีกกก! ก่อนจะตกเป็นเหยื่อ เราต้องป้องกันเงินของเราด้วยการทำตาม 7 วิธีป้องกันการถูกมิจฉาชีพดูดเงินตามนี้ด่ววนนนๆ!!!!!
.
1. ไม่โหลดแอปฯ นอกสโตร์ ไม่คลิกลิงก์ที่ไม่รู้แหล่งที่มา
.
ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นจาก Play Store หรือ App Store เท่านั้น อย่าลืมเช็กดีเทลอย่างชื่อผู้พัฒนาแอปฯ ยอดดาวน์โหลดกับรีวิวต่างๆ ห้ามดาวน์โหลดโปรแกรมจากลิงก์หรือเว็บไซด์ที่ไม่มีการรับรองความปลอดภัย วิธีสังเกตคือ ถ้าเห็นมี “.APK” อยู่ในชื่อที่จะติดตั้ง อย่ากดเด็ดขาด
.
2. ระวังข้อมูลสำคัญ และคำต้องห้าม
.
ถ้ามีการถามหรือให้กรอกข้อมูลที่สำคัญอย่างหมายเลขบัตรประชาชน, ข้อมูลเลขด้านหน้าบัตร, รหัส 3 ตัวหลังบัตร (CVV) หรือวันเดือนปีเกิด ก็ต้องเอ๊ะ แล้วเช็กดูให้ดีๆ ก่อน หรือถ้าเกิดต้องติดตั้งแอปฯ แล้วเจอคำว่า “Remote Access”, “Screen Overlay” หรือ “Accessibility” ให้หยุด เพราะคำพวกนี้หมายถึงเรายอมให้คนนอกเข้าถึงเครื่องได้ ดูหน้าจอเราได้ และควบคุมเครื่องเราได้ค่ะ
.
3. อัปเดตระบบเสมอ
.
เราต้องอัปเดตแอปฯ ธนาคารและระบบปฏิบัติการให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเสมอ จะทำให้ปลอดภัยขึ้นระดับหนึ่ง เพราะธนาคารและบริษัทผลิตสมาร์ตโฟนก็คอยทำระบบเพื่อปิดช่องโหว่การโดนเจาะเข้าเครื่องเสมออยู่แล้ว เช่น ถ้าระบบเจอว่าเครื่องมีการเปิดสิทธิ์แปลกๆ แอปฯ จะไม่ยอมเปิดขึ้นมาทำงาน หรือหน้าที่ต้องกรอกเลขบัญชี ระบบจะป้องกันให้ไม่สามารถบันทึกออกไปได้ ทำให้เวลามิจฉาชีพรีโมตเข้ามาก็จะไม่เห็นภาพค่ะ
.
4. ไม่ใช้ Wi-Fi สาธารณะ
.
เลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ โดยเฉพาะตอนเข้าเว็บไซต์ที่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว เพราะเราอาจโดนดักจับข้อมูลต่างๆ ตอนเชื่อมต่อสัญญาณอยู่ได้
.
5. เช็กเครื่องเสมอ
.
วิธีตรวจสอบว่ามือถือถูกแฮ็กแล้วหรือยัง สำหรับระบบ Android
- ไปที่ตั้งค่า
- เลื่อนลงมาหาเมนูแอปฯ
- กดที่จุด 3 จุด มุมขวาบนหน้าจอ
- กดที่ การเข้าถึงพิเศษ
วิธีตรวจสอบว่ามือถือถูกแฮ็กแล้วหรือยัง สำหรับระบบ iOS
- ไปที่ตั้งค่า > แบตเตอรี่ เพื่อตรวจสอบดูว่ามีแอปฯ ไหนใช้งานมากเกินความเป็นจริงบ้าง
- ตรวจสอบแอปฯ ทั้งหมดในตัวเครื่อง ว่ามีแอปฯ แปลก ๆ ปะปนมาแบบไม่รู้ตัวหรือไม่
วิธีเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน Safari
- ไปที่ตั้งค่า > Safari
- เลือกเปิดใช้งานฟังก์ชัน คำเตือนเว็บไซต์หลอกลวง
.
6. ใช้สายชาร์จมือถือของตัวเอง
.
คือถ้าไม่ฉุกเฉินจริงๆ ให้ใช้สายชาร์จของตัวเองเท่านั้น เพราะเดี๋ยวนี้มันมีสายชาร์จโทรศัพท์ที่ฝังตัวส่งสัญญาณไร้สาย Access Point เอาไว้ด้วยค่า แค่เราเสียบสายชาร์จเข้ามือถือ แล้วพิมพ์รหัสผ่านหรือข้อมูลต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้ก็จะถูกส่งไปให้มิจฉาชีพได้เลย ยิ่งจุดชาร์จมือถือในที่สาธารณะ ไม่ใช้ได้ก็จะดีมาก
.
7. ไม่ใช้รหัสเดียวกันทุกแอปฯ
.
ถ้าเรามีแอปฯ ธนาคารหลายที่ อย่าใช้รหัสเดียวกันในการทำธุรกรรมหรือเข้าแอปฯ และไม่ใช้ข้อมูลส่วนตัวที่เดาได้ เช่น วันเกิด เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ มาตั้งเป็นรหัสเด็ดขาด เพราะมันเดาง่าย ยิ่งถ้ามิจฉาชีพมีข้อมูลพื้นฐานของเราอยู่แล้ว เสี่ยงเงินหมดบัญชีสูงมาก
.
.
อ้างอิงภาพจาก : Pinterest